ทางลัดสู่ผิวสวยด้วย "เลเซอร์" เทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ทุกปัญหาผิวของคุณที่นารดาคลินิก

23/7/2563
ทางลัดสู่ผิวสวยด้วย "เลเซอร์"  เทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ทุกปัญหาผิวของคุณที่นารดาคลินิก

“เลเซอร์”(Laser หรือ Light Amplification by Stimulated Emission of Radiation) ถูกนำมาใช้ในวงการแพทย์มายาวนานกว่า 30 ปี โดยในระยะแรกมุ่งเน้นในการรักษาโรค เช่นโรคมะเร็งหรือโรคผิวหนัง  ต่อมาภายหลังได้มีการพัฒนาพลังงานจากแสงที่มีความเข้มสูง มาใช้ในด้านการดูแล รักษาผิวพรรณและความงามมากขึ้น จนเรียกได้ว่าเป็น “แสงมหัศจรรย์”เลยก็ว่าได้ นี่คือทางลัดของเทคโนโลยีสู่ผิวสวยแบบไร้แผลค่ะ

เลเซอร์คืออะไร?

Laser (Light Amplification by Stimulated Emission of Radiation) คือการเพิ่มปริมาณคลื่นแสงโดยการกระตุ้นให้ปล่อยคลื่นแสงออกมาผ่านทางสื่อนำแสง ที่เป็นได้ทั้งของแข็ง  ของเหลว ก๊าซ หรืออิเล็กตรอนอิสระ เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  และได้รับการยอมรับว่าเป็นแสงที่บริสุทธิ์ที่สุด โดยมีลักษณะดังนี้

  1. เป็นแสงสีเดียว (monochromaticity)มีความยาวคลื่นเพียงค่าเดียว
  2. มีความพร้อมเพรียงของแสงที่ปล่อยออกมา (coherence)คลื่นของแสงจะเป็นเฟสเดียวกันทั้งหมด
  3. มีทิศทางที่แน่นอน (directionality)โดยลำแสงของเลเซอร์จะขนานกันไปตลอด
  4. มีความเข้ม (Intensity หรือ Brightness) สูงมาก เมื่อกระทบกับวัตถุ จะเกิดแสงระยิบระยับขึ้นที่มีความเข้มสูงกว่าพระอาทิตย์ ถ้าฉายแสงเข้าตามนุษย์โดยตรงสามารถทำให้ตาบอดได้

 

เลเซอร์(Laser) เริ่มต้นในปี ค.ศ 1917 โดยเริ่มตั้งแต่อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert  Einstein) ได้เสนอทฤษฎี Theory of stimulated emission of radiation ซึ่งพูดถึงโฟตอน(Photon) หรืออนุภาคของแสงที่สามารถกระตุ้นอะตอมหรือโมเลกุลให้ปล่อยโฟตอน(Photon)ที่มีลักษณะเหมือนกันออกมา หลังจากนั้น ในปี ค.ศ.1960 Maiman ได้ประดิษฐ์เครื่องเลเซอร์ที่มีต้นกำเนิดแสงเป็นผลึกทับทิมขึ้นมา และเรียกชื่ออย่างเป็นทางการครั้งแรกว่า เลเซอร์ (Laser - Light Amplification by Stimulated Emission of Radiation)  ต่อมาได้มีนักวิชาการและทีมแพทย์ได้เริ่มศึกษา พัฒนา และใช้เลเซอร์ในการรักษาโรคผิวหนังหลายชนิด  ด้วยข้อจำกัดของเครื่องมือที่มีกำลังต่ำ มีขนาดใหญ่ทำให้เกิดความยุ่งยากในการใช้งาน ได้นำไปสู่การประดิษฐ์เครื่องเลเซอร์ชนิดอาร์กอน(Argon) และคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) ขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ในการรักษาโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือด แต่ถึงกระนั้นก็ยังพบภาวะแทรกซ้อนทำให้เกิดแผลจากความร้อน(thermal injury) และรอยแผลเป็น    ในปี ค.ศ. 1983 จากทฤษฏี “Selective photo thermolysis” ของ Anderson และ Parrish  ได้นำไปสู่การพัฒนาลำแสงเลเซอร์ที่ทำลายเฉพาะจุดที่ต้องการและลดอันตรายของรังสีความร้อนที่จะทำลายเนื้อเยื่อข้างเคียง ทำให้เกิดเครื่อง Pulsed Dye Laser ซึ่งให้ผลดีในการรักษาโรคหลอดเลือดบางชนิด และยังนำไปสู่การประดิษฐ์เครื่องเลเซอร์ที่มีความกว้างของคลื่อนที่สั้นลงโดยอาศัยอุปกรณ์พิเศษที่เรียกว่า Q – switch ซึ่งสามารถรักษาโรคที่เกี่ยวกับเซลล์สีของผิว และใช้ในการลบรอยสักอย่างแพร่หลาย  นอกจากนั้น เลเซอร์ยังถูกนำมาใช้ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับสายตาด้วย เช่นสายตาสั้น  สายตายาว สายตาเอียง เป็นต้น

 

ประเภทของเลเซอร์

เลเซอร์ประเภทต่างๆ

เราสามารถแบ่งประเภทของเลเซอร์ได้ตามการรักษาในกลุ่มโรคหรืออาการต่างๆได้ดังต่อไปนี้

  1. เลเซอร์ที่ใช้ในการกำจัดเนื้องอกที่ผิวหนัง ลอกแผลเป็น รอยย่น ได้แก่ Co2 Laser  และ Erbium :YAG Laser  เลเซอร์ประเภทนี้จะทำให้ผิวหนังลอกหลุดไป โดยไม่มีผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อผิวหนังหรือเนื้อเยื่อที่อยู่โดยรอบ  
  2. เลเซอร์ที่ใช้ในการกำจัดเซลล์สีเพื่อรักษาปานดำ กระ รอยแผลเป็น รอยสัก ได้แก่ Q – switched ND YAG laser , Q – switched ruby laser และ Q – switched alexandrite laser เมื่อยิงเลเซอร์ในบริเวณที่ต้องการแก้ปัญหา  จะมีสะเก็ดตื้นๆ หลังจากนั้นประมาณ 5-7 วันสีของรอยจะค่อยๆจางลง
  3. เลเซอร์ในการรักษาปานแดง หลอดเลือดขยาย  หลอดเลือดขอด  ได้แก่ Pulsed dye laser และ Long pulsed laser ในการรักษาอาการในลักษณะนี้ต้องทำซ้ำหลายๆครั้ง  กรณีปานแดงชนิดที่หนาจะต้องรักษาร่วมกับเลเซอร์ที่ใช้ลอกผิว ส่วนหลอดเลือดขอด ต้องรักษาร่วมกับการใช้ยาหรือการผ่าตัด
  4. เลเซอร์ในการกำจัดขนถาวร ได้แก่ Long Pulsed ND Yag laser,Long Pulsed diode laser และ Long Pulsed Alexandrite laser
  5. เลเซอร์ในการลบรอยย่น แผลเป็น เลเซอร์ประเภทนี้จะให้แสงอินฟาเรด( Infrared) เช่น ND YAG ซึ่งสามารถกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในชั้นใต้ผิวได้เป็นอย่างดี จึงสามารถทำให้ผิวหนังตึงขึ้น โดยที่ผิวไม่ลอกได้
  6. เลเซอร์ที่แสงมีความเข้มสูง เช่น Intense Pulsed Light(IPL) ซึ่งจะต้องยิงผ่านระบบกรองแสง โดยเลือกช่วงคลื่นแสงให้เหมาะกับอาการที่จะรักษา  จริงๆแล้ว วิธีนี้ไม่ใช้เลเซอร์โดยตรง แต่มีหลักการที่คล้ายคลึงกัน ใช้ในการลดเซลล์สี หลอดเลือด และกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนไปพร้อมๆกัน
  7. แสงเลเซอร์เพื่อการผ่าตัดเสริมสวย เช่น Superpulsed Co2 laser และ Ultrapulsed Co2 laser ซึ่งสามารถช่วยแก้ปัญหาหนังตาหย่อน แก้ไขถุงไขมันใต้ตาเป็นต้น

ไม่เพียงเท่านั้น เรายังสามารถแบ่งประเภทของเลเซอร์จากลักษณะของแผล ดังนี้

  1. เลเซอร์ที่ทำแล้วไม่มีแผล (Non-ablative Laser) ในระหว่างยิงเลเซอร์จะรู้สึกอุ่นๆ แต่หลังจากที่ทำแล้วจะไม่มีสะเก็ดหรือบาดแผลใดๆ อาจมีแค่รอยแดงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากเลเซอร์กลุ่มนี้จะมีระบบทำความเย็นปกป้องอยู่ที่ผิวชั้นบน ไม่ให้ผิวได้รับผลกระทบจากพลังงานความร้อนจากเลเซอร์ เป็นการกระตุ้นให้เกิดการสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนัง ทำให้ผิวเต่งตึง ช่วยในการลดริ้วรอย ทำให้ผิวกระชับขึ้นส่วนใหญ่จะเกิดผลข้างเคียงน้อยมาก  เลเซอร์ประเภทนี้ เช่น ND YAG Laser ,IPL,UPL เป็นต้น
  2. เลเซอร์ที่ทำแล้วมีแผล (Ablative Laser) เป็นการยิงเลเซอร์ไปยังบริเวณที่มีปัญหา โดยเลเซอร์จะแทรกผ่านเข้าไปในผิวชั้นกลาง ทำให้ผิวเรียบเนียนกระชับขึ้น และในการยิงเลเซอร์แต่ละครั้งจะช่วยกำจัดเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพออกไป  เลเซอร์ประเภทนี้ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์(CO2 Laser) เป็นการยิงแสงที่มีความเข้มสูงเป็นจังหวะสั้นๆไปยังจุดที่มีปัญหา ส่วนใหญ่จะใช้ในการรักษารอยแผลเป็นที่ลึกและหนา จี้ขี้แมลงวัน ไฝ กระเนื้อ หูด หลังจากการทำอาจมีแผลเล็กหรือสะเก็ดเกิดขึ้นได้

นอกจากนั้น เลเซอร์ยังสามารถแบ่งประเภทได้ตามวัตถุประสงค์การใช้งานได้อีกด้วย ดังนี้

  1. ใช้ในการผ่าตัด หรือการห้ามเลือด (Cutting Laser) โดยส่วนใหญ่จะใช้ในการผ่าตัดที่เสี่ยงต่อการเสียเลือดมาก เช่นก้อนเนื้องอกในเส้นเลือด โดยศัลยแพทย์จะใช้ เลเซอร์นีโอดีเนียมแย๊ก (Neodymium YAG Laser) ที่มีประสิทธิภาพทะลุผ่านเนื้อเยื่อได้สูงและมีคุณสมบัติในการห้ามเลือดได้ดี  เป็นต้น
  2. ใช้ในการฟื้นฟูผิวพรรณและความงาม ( Aesthetic and Rejuvenation Laser ) เลเซอร์ประเภทนี้ ก็เช่น UPL Laser , Q Switch Laser ,HIFU และ Long Pulsed ND YAG เป็นต้น
  3. ใช้เพื่อการรักษา ระงับอาการปวด กระตุ้นการสร้างเซลล์ผิว ( Laser Therapy ) ใช้ในส่วนของกล้ามเนื้อ กระดูก หรือเส้นประสาท ที่กำลังเป็นที่นิยมกันขณะนี้คือ High Power Laser เป็นต้น

 

เลเซอร์กับศัลยกรรมและความงาม

เลเซอร์กับความงาม

ในบทความนี้เราจะเน้นในเรื่องของการใช้เลเซอร์ที่เกี่ยวกับผิวหนัง ศัลยกรรม และความงาม ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจอย่างถูกต้อง เพื่อที่จะสามารถเลือกใช้เลเซอร์ได้อย่างตรงจุดและเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

  1. การใช้เลเซอร์เพื่อช่วยกระตุ้นผิวพรรณให้ปล่งปลั่ง ผิวเต่งตึง Skin Rejuvenation and Skin Tightening )   ทั้งสภาพผิวที่หย่อนคล้อยตามกาลเวลา และที่เกิดจากสภาวะแวดล้อม  รวมถึงการเพิ่มความเต่งตึงให้กับผิวหน้า  โดยเลเซอร์จะช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอิลาสติน( Collagen and Elastin ) ที่เกี่ยวข้องกับความยืดหยุ่นของผิวให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น เทคโนโลยีที่นิยมคือ HIFU ถึงแม้จะไม่ใช่เลเซอร์โดยตรง แต่จัดอยู่ในหมวดหมู่ที่ใช้คลื่นอัลตร้าซาวน์ในการยกกระชับหน้า พลังงาน HIFU จะทำให้เกิดแผลขนาดเล็กมากที่ผิวชั้นใน เป็นการเร่งให้ร่างกายซ่อมแซมตัวเอง ทำให้หน้าตึง กระชับขึ้น เป็นต้
  2. การใช้เลเซอร์ช่วยลดคีลอยด์และรอยแผลเป็นที่เกิดขึ้น ( Scar Reduction ) การฉายลำแสงเลเซอร์ไปยังบริเวณที่เป็นรอยแผล จะทำให้ความนูนของแผลลดลง แผลนิ่มขึ้น
  3. การใช้เลเซอร์รักษาหลุมสิว (Atrophic scar ) ส่วนใหญ่จะเป็นเลเซอร์ประเภท Fractional Co2 โดยจะช่วยผลัดเซลล์เซลล์ผิวเดิมออก ทำให้ผิวเรียบ สีผิวสม่ำเสมอ ที่นารดาคลินิก เรามีโปรแกรม Re new Skin Laser ที่มีประสิทธิภาพช่วยรักษาหลุมสิวโดยเฉพาะ ช่วยกระชับรูขุมขน ทำให้หลุมสิวตื้นขึ้น และนอกจากนั้น ยังมีโปรแกรม Scar Free ด้วยเทคโนโลยีแฟรคทรอร่า (fractora) ที่สามารถรักษาปัญหาที่เกี่ยวกับโครงสร้างของผิว เช่นหลุมสิว โดยจะมีการปล่อยพลังงานในรูปแบบของ Fractional RF ที่อาจจะไม่ใช่เลเซอร์โดยตรง แต่เป็นลำแสงที่มีขนาดเล็กลงสู่ผิว สามารถช่วยขจัดเซลล์เม็ดสีส่วนเกินพร้อมทั้งเร่งการสร้างคอลลาเจนขึ้นใหม่ได้ด้วย
  4. การใช้เลเซอร์รักษาความผิดปกติของเม็ดสี (Melanin Pigment) ที่อยู่ระหว่างชั้นหนังกำพร้าและชั้นหนังแท้ จะช่วยให้ผิวหนังมีสีผิวที่สม่ำเสมอขึ้น ไม่ว่าจะฝ้า กระ หรือจุดด่างดำ   เลเซอร์ที่เป็นที่นิยมก็เช่น  Q -Switch Laser ซึ่งช่วยได้ดีในปัญหาที่เกี่ยวกับเม็ดสี เพราะจะช่วยในการยิงเม็ดสีให้แตกกระจาย นอกจากนั้นยังช่วยรอยดำรอยแดงที่เกิดจากสิว ฝ้าเลือด  ให้ผลกระทบต่อผิวโดยรอบไม่มาก  รวมถึง การใช้ UPL Laser ในการปรับสีผิวให้เรียบเนียนด้วย
  5. การใช้เลเซอร์รักษารอยแดง รอยดำที่เกิดจากสิว ( Post Acne Scan) รอยต่างๆเหล่านี้เกิดจากการที่โครงสร้างของคอลลาเจนหดตัว หรือมีเลือดมาหล่อเลี้ยงในปริมาณที่มากหลังเกิดแผล เลเซอร์ที่นำมารักษาจะอยู่ในกลุ่มของ Pulsed Dye Laser จะช่วยให้หลอดเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงบริเวณดังกล่าวฝ่อไป พร้อมทั้งกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน ทำให้รอยสิวจางลง   และเทคโนโลยีอีกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้คือ IPL ซึ่งเป็นการรวมตัวของแสงสเปกตรัม ซึ่งเป็นลำแสงที่มีวงกว้าง ดังนั้นอาจจะทำให้ผิวบริเวณใกล้เคียงได้รับผลกระทบด้วย เช่นอาจทำให้ผิวไหม้ แดง หรือบวมได้  เนื่องด้วยข้อจำกัดที่ส่งผลต่อผิวของ IPL ทำให้มีการพัฒนาต่อยอดมาใช้เครื่อง UPL กันมากขึ้น โดยส่วนใหญ่จะนำมาใช้ในการฆ่าเชื้อสิว  รอยดำ รอยแดงที่เกิดจากสิว เป็นต้น
  6. การใช้เลเซอร์ในการกำจัดขน(Hair Remover) ที่ใบหน้า แขนขา หรือบริเวณรักแร้ โดยเลเซอร์สามารถยับยั้งการงอกขึ้นมาใหม่ของขนได้ เลเซอร์ที่นิยมใช้ในการกำจัดขนคือ Long-Pulsed Nd  Yag  ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อผิว และให้ผลดีด้วยเช่นกันค่ะ
  7. เครื่องฉายแสง LED ส่วนใหญ่จะใช้ในการทำศัลยกรรม  ซึ่งการใช้แสงสีเหลือ แสงสีแดงและรังสี Near – Infrared จะช่วยรักษาและเร่งการหายของแผล ลดบวม ลดช้ำ  กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต และฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้

 

ผลข้างเคียงจากการทำเลเซอร์

การทำเลเซอร์ที่นารดาคลินิก

แม้การทำเลเซอร์จะเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาเรื่องผิวพรรณ  แต่ก็มีผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ดังต่อไปนี้

  1. เกิดรอยแดง บวม หรือระคายเคือง โดยส่วนใหญ่อาการระคายเคืองและบวมจะค่อยๆหายไป แต่รอยแดงอาจจะต้องใช้เวลา ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับระดับความลึกของเลเซอร์ที่ยิงเข้าไปด้วย
  2. สีผิวในบริเวณที่ทำเลเซอร์เปลี่ยนไปจากเดิม แต่หลังจากนั้นจะค่อยๆเป็นปกติ  ในบางกรณีอาจมีการใช้ยาทานร่วมด้วย เช่นวิตามินเอหรือกรดไกลโคลิค (Glycolic Acid)

กลุ่มคนที่เสี่ยงในการทำเลเซอร์

กลุ่มคนที่มีปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถเข้ารับการทำเลเซอร์ได้ และต้องอยู่ในการควบคุมดูแลของแพทย์ ดังนี้

  1. ผู้ที่เคยใช้ยารักษาสิว ไอโซเตรทติโนอิน (Isotretinoin)
  2. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  3. ผู้ที่เคยมีประวัติเกี่ยวกับการฉายรังสีที่ใบหน้า
  4. สตรีมีครรภ์หรือสตรีที่กำลังให้นมบุตร

การเตรียมตัวก่อนทำเลเซอร์ผิวหนัง

มีข้อควรปฏิบัติที่ผู้ที่จะทำเลเซอร์ต้องทราบและทำความเข้าใจ พร้อมปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ ดังนี้ค่ะ

  1. ปรึกษาแพทย์โดยตรง เพื่อขอคำแนะนำในเบื้องต้น พร้อมทั้งแจ้งอาการอย่างละเอียด เพื่อนำไปสู่การรักษาต่อไป
  2. ตรวจร่างกาย เพื่อแพทย์จะได้ใช้ในการวินิจฉัยเพื่อรักษาตามอาการต่อไป
  3. หยุดใช้ยาบางประเภท เช่น แอสไพริน หรือวิตามินอี ก่อนทำเลเซอร์ประมาณ 10 วัน เนื่องจากยาและวิตามินดังกล่าวทำให้เลือดหยุดยาก
  4. หยุดสูบบุหรี่ประมาณ 2 สัปดาห์ทั้งก่อนและหลังทำเลเซอร์ เพราะจะทำให้ฟื้นตัวได้ช้า
  5. เลี่ยงการออกแดดและควรใช้ครีมกันแดดทุกครั้ง เพราะแสงแดดอาจจะทำให้ผิวหนังส่วนที่จะทำเลเซอร์นั้นเปลี่ยน  ทำให้สีผิวไม่สม่ำเสมอกัน

ข้อควรปฎิบัติหลังทำเลเซอร์

ขอบคุณรูปจากGoogle

หลังจากที่ทำเลเซอร์แล้ว  มีข้อควรปฏิบัติที่จะช่วยให้การรักษาได้ผลดีดังต่อไปนี้

  1. เลี่ยงการออกแดด ปกป้องส่วนที่ทำเลเซอร์ด้วยการใส่เสื้อผ้าที่มิดชิด สวมหมวก หรือกางร่ม และควรใช้ครีมกันแดดที่มีค่าป้องกันแสงแดดหรือ SPF 50+++ ขึ้นไป
  2. บำรุงผิวให้มีความชุ่มชื่นอยู่เสมอ
  3. หยุดสูบบุหรี่ประมาณ 2 สัปดาห์หลังทำเลเซอร์
  4. สำหรับผู้ที่ใช้ยารักษาสิวที่มีส่วนผสมของกรดไกลโคลิด ต้องหยุดใช้ก่อนประมาณ 6 สัปดาห์หรือตามแพทย์สั่ง

เลเซอร์ ทางลัดที่จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องผิวพรรณในเวลาอันสั้น รวดเร็ว พร้อมให้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ  แต่สิ่งสำคัญคือต้องทำกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเท่านั้น พร้อมทั้งศึกษาและเลือกใช้ประเภทของเลเซอร์ให้เหมาะกับสภาพปัญหาของคุณด้วยนะคะ ยุคนี้สวยเท่านั้นไม่พอ..แต่ต้องปลอดภัยด้วยค่ะ!!

=====================================================

Narada Clinic : Expert Beauty Center

นารดาคลินิก ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความงามภาคเหนือ

 

Call Center : 053-215447

Line :@naradaclinic(อย่าลืมใส่@ด้วยนะคะ)

Website :www.naradaclinic.com

IG :naradaclinic

Youtube : Narada Clinic Channel

 

 

ข้อมูลอ้างอิง

Gould, R. Gordon (1959). "The LASER, Light Amplification by Stimulated Emission of Radiation". in Franken, P.A. and Sands, R.H. (Eds.). The Ann Arbor Conference on Optical Pumping, the University of Michigan,

สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย

Morris, Peter J; Wood, William C. Oxford Textbook of Surgery. 2.

Gould, R. Gordon (1959). "The LASER, Light Amplification by Stimulated Emission of Radiation". in Franken, P.A. and Sands, R.H. (Eds.). The Ann Arbor Conference on Optical Pumping, the University of Michigan,

นิวัติ  พลนิกร ,เลเซอร์ในเวชสำอาง,(กรุงเทพฯ ซโฮลิสติก พับลิซชิ่ง,2547) หน้า 25-27

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ฟื้นฟูเซลล์ผิวให้เปล่งปลั่งสุขภาพดีจากภายในด้วยเกล็ดเลือดของตัวเอง โดย PRP(Platelet Rich Plastma)

ฟื้นฟูเซลล์ผิวให้เปล่งปลั่งสุขภาพดีจากภายในด้วยเกล็ดเลือดของตัวเอง โดย PRP(Platelet Rich Plastma)

1/7/2563

หน้าแก่  มีริ้วรอย สิวฝ้าผุดขึ้นมาทักทายแบบไม่ได้รับเชิญ  ความตึงกระชับของผิวก็ร่วงโรยไปตามกาลเวลา รอยตีนกามาโดยอัตโนมัติแบบไม่ได้ถามหา ด้วยปัญหาความงามที่เป็น...

เปลี่ยนหน้าบาน หน้าใหญ่ ให้วีเชฟ @นารดาคลินิก

เปลี่ยนหน้าบาน หน้าใหญ่ ให้วีเชฟ @นารดาคลินิก

25/9/2563

เคยไหมคะที่เวลาถ่ายรูปออกมาแล้วรู้สึกว่าหน้าบาน หน้าใหญ่ หน้าอ้วน ดูไม่สวย ต้องพึ่งแอ๊ปหรือไม่ก็ต้องหลบมุมบิดซ้ายบิดขวาให้หน้าดูเรียวเล็กเป็นวีเชฟ  ปัจจุบันนี้เรามี...

SKINCARE เเบบไหนที่เหมาะกับผิวของคุณ?

SKINCARE เเบบไหนที่เหมาะกับผิวของคุณ?

17/6/2564

พูดถึงผลิตภัณฑ์พวกที่เป็น skincare เรามักเรียกรวมๆง่ายๆว่า "ครีมบำรุงผิว".... แต่...เอ๊ะ! ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นไม่ได้มีแต่รูปแบบครีมอย่างเดียวนะ  แต่มีทั้งแบบที่เป็นโล...

ทำไมเครื่องสำอางถึงมีเนื้อเป็นเเบบ Serum ?

ทำไมเครื่องสำอางถึงมีเนื้อเป็นเเบบ Serum ?

17/6/2564

🤔 เราเคยสงสัยกันมั้ยคะว่า ทำไมเครื่องสำอางถึงมีแบบที่เป็น Serum ? เเละ Serum มีลักษณะเป็นอย่างไร? ดียังไง? .... วันนี้นารดาคลินิกมีคำตอบค่ะ   ⭐ Serum เป็นตัวบำรุงผ...